THAILAND ECONOMIC MONITOR INEQUALITY, OPPORTUNITY AND HUMAN CAPITAL January 2019 รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย: ความเหลื่อมล้า โอกาส และทุนมนุษย์ มกราคม 2562 บทสรุปส้าหรับผู้บริหาร สถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงไม่สดใสท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้า การค้าระหว่างประเทศและการลงทุนมีการปรับตัว ลดลง ความตึงเครียดทางการค้ายังคงสูง และสภาวะการเงินเริ่มตึงตัว เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวลดลงจากลงร้อยละ 3 ในปี พ .ศ. 2561 เป็ น ร้ อ ยละ 2.9 ในพ.ศ. 2562 และเติ บ โตร้อ ยละ 2.8 ในปี พ .ศ. 2563-64 เนื่ อ งจากเศรษฐกิ จซบเซา ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้า ดาเนินนโยบายการเงินอย่างเคร่งครัด และการค้าโลกชะลอตัว (รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ธนาคารโลก มกราคม 2562) ถึงแม้จะมีผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการค้าและการท่องเที่ยว แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพิ่มขึนที่ ร้ อ ยละ 4.1 ในปี พ .ศ. 2561 เศรษฐกิ จ ไทยสามารถยื น หยั ด ได้ แ ม้ ว่ า จะต้ อ งฝ่ า แรงปะทะจากเศรษฐกิ จ โลก เนื่ อ งจาก สภาพแวดล้อมในประเทศเข้มแข็งขึ้นจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อย ละ 5 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีพ.ศ. 2561 นับว่าเป็นอัตราการเติบโตสูงที่สด ุ ในรอบ 22 ไตรมาสที่ผ่านมา ในสภาวะที่อัตราเงิน เฟ้อและอัตราการว่างงานต่า นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่ 3 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายใน การก่อสร้าง เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ ขยายตัวเพิ่มขึ้น แนวทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก ผลกระทบของเศรษฐกิจโลก เช่น ข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมถึงปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยเฉพาะอื่นๆ อาทิ โศกนาฏกรรมเรือนักท่องเที่ยวล่มที่ภูเก็ต และผลกระทบฐานสูงในการส่งออกทองคา เศรษฐกิจไทยยังคงมีความยืดหยุ่น เนื่องจากมีพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคที่มีความเข้มแข้งและมั่นคง แนวโน้มและความเสี่ยง เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในปีพ.ศ. 2562 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะชะลอ ี่ ้อยละ 3.8 ในปีพ.ศ. 2562 และฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.9 ในปีพ.ศ. 2563 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะยัง การเติบโตอยู่ทร พึ่งพาการบริโภคจากภายในประเทศเนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของตลาดโลกลดลง จากปัจจัยแวดล้อมนี้ การลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการปฏิรูปเศรษฐกิจตามที่วางแผนไว้อย่างต่อเนื่องจะช่วยกระตุ้นการ บริโภคภายในประเทศในปีหน้า และช่วยส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจในระยะกลาง เศรษฐกิจอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึน เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนอาจชะลอตัวลงอีกเนื่องจากความตึงเครียดทางการค้า ดังนั้น อุปสงค์จากภายนอกยังเสี่ยงที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกของไทย เพื่อรับมือกับการสถานการณ์ดังกล่าว นักลงทุนอาจชะลอการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมส่งออกรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเนื่องจากความไม่แน่นอน ของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ และในประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งปัจจุบันและในอนาคตอาจ ส่งผลให้ตลาดเงินผันผวน และการลดการนาเข้าเงินทุนจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในส่วนของประเทศไทยนั้น การเบิกจ่าย 1 งบลงทุนของภาครัฐที่ต่ากว่าเป้าอยู่เสมอ การคลังที่ไม่บูรณาการ และความไม่แน่นอนทางการเมือง ยังคงเป็นความเสี่ยง สาหรับการดาเนินงานตามกาหนดของโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีการวางแผนไว้แล้ว แนวโน้มนโยบายการเงินและการคลังยังยืดหยุ่นและรักษาเศรษฐกิจมหภาคให้มั่นคงอยู่ได้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ ระหว่างร้อยละ 1-4 ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป กันชนทางด้านการเงินการ คลังคาดว่าจะยังทางานได้ดีและยังสามารถขยายตัวเพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจหากมีความจาเป็นได้ อัตราหนี้สาธารณะ ของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ากว่าร้อยละ 42 ของจีดีพี เงินบาทมีความผันผวนน้อยลงในช่วงที่เกิดวิกฤติสกุลเงินตุรกีเมื่อเทียบ กับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เข้มแข็ง (ร้อยละ 8.1 ของจีดีพี) และทุน สารองระหว่างประเทศที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน (ร้อยละ74 ของจีดีพี) ส้าหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย ความก้าวหน้าในการลดความยากจนนันขึนอยู่กับผลิตภาพที่เพิ่มขึน ประเทศ ไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงในกลุ่มประเทศกาลังพัฒนา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ประเทศไทยจั ด ว่ า มี อั ต ราความยากจนขั้ น รุ น แรงต่ าที่ สุ ด ประเทศหนึ่ ง โดยวั ด จากเส้ น ความยากจนระหว่ า งประเทศ (International Poverty Line) ($1.90/วัน 2011 PPP) สาหรับเส้นความยากจนที่สูงขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ระดับสูง ($5.5/วัน 2011 PPP) นั้น อัตราความยากจนของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 7.1 ในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งใกล้เคียงกับ มาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านที่มีรายได้สูงกว่า ในระยะปานกลางคาดว่า อัตราความยากจนจะลดลงอย่างช้าๆ ในพื้นที่ชนบท เนื่องจากการคาดการณ์ว่าราคาสินค้าเกษตรจะมีราคาไม่สูงเหมือนในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามวัฏจักรสินค้าโภคภัณฑ์โลก การมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับต่า โดยคนยากจนในชนบทจะได้รับผลกระทบด้านลบนอกเสียจากจะ สามารถเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร นอกจากนี้ ครัวเรือนในชนบทยังประสบปัญหาเรื่องผู้สูงวัยมากขึ้นเนื่องจากคนรุ่นใหม่ ย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเมือง การรักษาระดับและคุณภาพของการปฏิรูปด้านโครงสร้างของประเทศให้ยั่งยืนเป็นเรื่องส้าคัญส้าหรับประเทศไทยในการ ลดความยากจนและช่วยยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาวให้สูงกว่าร้อยละ 4.0 ในสภาวะการณ์ที่ต้อง เผชิญกับสังคมสูงวัยที่สูงขึนอย่างรวดเร็ว คาดว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาลเพื่อการเติบโตในระยะยาวจะช่วยให้มี เกิดความต่อเนื่องในการบริหาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานในประเทศ รวมถึงมีความต่อเนื่องด้านนโยบายของแต่ละ รัฐบาล การปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในเรื่องหลัก เช่น การบริหารจัดการการลงทุนภาครัฐ การศึกษา ขีดความสามารถในการ แข่งขัน และการเปิดเสรีภาคบริการ ล้วนมีความสาคัญต่อการเพิ่มผลิตภาพในทุก ๆ ภาคส่วนของสังคม และช่วยให้ประเทศ ไทยเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ความเหลื่อมล้า โอกาส และทุนมนุษย์ ส่วนที่สองของรายงานนีมุ่งเน้นเรื่องโอกาสและความท้าท้ายของประเทศไทยในการเพิ่มทุนมนุษย์และลดความเหลื่อมล้า ถึงแม้ว่าการวัดความเหลื่อมล้าด้านรายได้ของประเทศไทยยังไม่ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ ทว่าความเหลื่อมล้ายังคงจัดเป็นประเด็นสาคัญลาดับต้นๆ ของประเทศ ความเหลื่อมล้าด้านรายได้ส่งผลเสีย ที่สาคัญต่อ ประเทศ 2 ประการคือ ความไม่เสมอภาคในโอกาสทางเศรษฐกิจทาให้สูญเสียศักยภาพในการผลิตและมักทาให้การ พัฒนาสถาบันถดถอยลงซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อการลงทุน นวัตกรรม และการจัดการความเสี่ยง 1 1 Riding the Wave: An East Asian Miracle for the 21st Century (World Bank, 2017). 2 รัฐบาลไทยเพิ่งจัดตังหน่วยงานภายใต้ส้านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งจะช่วยคิดค้นและ ด้าเนินยุทธศาสตร์เพื่อติดตามความแตกแยกทางสังคมและความเหลื่อมล้า ส่วนที่สองของรายงานนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเน้น ให้เห็นความสาคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง การสร้างความเข้มแข็ง ด้านสุขภาพและทักษะให้แก่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้าได้ นอกจากนี้ รายงานล่าสุดของธนาคารโลก ได้วิเคราะห์ประสบการณ์จากห้าประเทศที่ประสบความสาเร็จในการลดความเหลื่อมล้าทางรายได้ และเน้นให้เห็นถึงบทบาท สาคัญของตลาดแรงงานที่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้าโดยการเพิ่มโอกาสที่ดีขึ้นให้แก่ กลุ่มด้อยโอกาส (World Bank, 2016c; Narayan et al 2018). การเข้าถึงทุนมนุษย์เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่ส้าคัญในการสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจในอนาคต ในการประชุม ประจาปีของธนาคารโลกประจาปี พ.ศ. 2561 ธนาคารโลกได้เปิดตัว ดัชนีทุนมนุษย์ ( Human Capital Index - HCI) ซึ่งวัด ระดับผลิตภาพที่คาดหวังจากคนทางานรุ่นต่อไปเมื่อเทียบกับศักยภาพที่พวกเขาพึงมีหากได้รับการศึกษาเต็มที่และมีสุขภาพ แข็งแรงสมบูรณ์ (World Bank, 2019) ค่าดัชนีทุนมนุษย์ของประเทศไทยนั้นอยู่ที่ 0.60 จากคะแนนสูงสุด 1 ซึ่งแสดงให้เห็น ว่า “เด็กไทยที่เกิดในวันนี้จะเติบโตขึ้นและสามารถมีผลิตภาพร้อยละ 60 เท่าที่จะเป็นไปได้หากพวกเขาได้รับการศึกษาและ การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด” ทั้งนี้ รายงานแสดงให้เห็นว่า ขณะที่ประเทศไทยได้รับคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่ากลาง ในตัวชี้วัดหลายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนและประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงระดั บสูง อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังสามารถพัฒนาได้อีกมาก เช่น อัตราการอยู่รอดของผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 15-60 นั้น อัตราของประเทศไทยยัง ต่ากว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่ถูกประเมินทั่วโลก ดัชนีทุนมนุษย์เป็นตัวชีวัดโดยรวม แต่ความเหลื่อมล้าด้านคุณภาพการศึกษานันเป็นความท้าทายที่ส้าคัญของประเทศไทย ซึ่งพืนที่ยากจนยังคงได้รับโอกาสที่ด้อยกว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่ได้รับทรัพยากรน้อย มีโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การ เรียนการสอนที่ไม่เพียงพอมักจะให้บริการกลุ่มนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจ โรงเรียนเหล่านี้มักได้รับการ จัดสรรครูที่มีคุณสมบัติต่าและขาดประสบการณ์ในการสอน (Lathapipat and Sondergaard, 2015) คะแนนการทดสอบ HCI Harmonized Test ของประเทศไทยนั้นต่ากว่าค่าเฉลี่ยของอาเซียน ทั้งนี้ เด็กไทยที่เกิดในวันนี้คาดว่าจะได้รับการศึกษา ในโรงเรียนประมาณ 12.4 ปี ก่อนอายุ 18 ปี อย่างไรก็ตาม ผลการเรียนรู้ของเด็กไทยนั้นเทียบเท่ากับการศึกษาที่ แท้จริงใน โรงเรียนเพียง 8.6 ปี ซึ่งหมายความว่ามีช่องว่างในการเรียนรู้สูงถึง 3.8 ปี ประเทศก้าลังเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพใหม่ รวมถึงการเพิ่มขึนของโรคไม่ติดต่อ ( NCDs) จากประชากรผู้ใหญ่ทั่ว ประเทศไทยนั้น มีคนอายุ 15 ปีเพียงร้อยละ 85 ที่จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้จนกระทั่งอายุ 60 ปี จานวนนี้นับว่าต่ากว่า ค่าเฉลี่ยของโลก และต่ากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้เดียวกันที่อยู่ที่ร้อยละ 86.2% และใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยใน กลุ่มประเทศอาเซียน (รูปที่ 10 B) ภาระหนักจากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ และการบาดเจ็บบนท้องถนนซึ่งทาให้เสียชีวิตก่อนวัยอัน ควรส่งผลกระทบต่ออัตราการรอดชีวิตของประเทศไทย นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่ โรคไม่ติดต่อซึ่งกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 82 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ของคนไทยในปี พ.ศ. 2556 ในขณะที่อัตราการตายและความเจ็บป่วยจากโรคติดต่อลดลง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน โลหิตสูงได้เพิ่มขึ้นเป็นสามและสี่เท่าตามลาดับในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงขึน การลงทุน ในคนรุ่นต่อไปอย่างมีส่วนร่วมและและเท่าเทียมจึงมี ความส้าคัญ โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการจัดการกับประเด็นส้าคัญเรื่องการศึกษา สุขภาพ และโอกาสที่เท่าเทียมกัน ความ 3 ต้องการของประเทศไทยในการก้าวขึ้นสู่ การเป็นประเทศเศรษฐกิจขั้นสูงกาลังเผชิญกับความท้าทายที่ยากลาบากจากสังคม ผู้สูงอายุ คุณภาพการศึกษาที่ต่า ความแตกต่างแต่ละภูมิภาคของไทยในการเข้าถึงทรัพยากรและคุณภาพของการศึกษา รวมถึง ความท้าทายด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นใหม่ ในด้านการศึกษา ควรจัดทายุทธศาสตร์เรื่องการจัดการกับโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งโดย เฉลี่ยแล้วเด็กนักเรียนประมาณ 1 ล้านคน (ส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจน) ซึ่งปัจจุบันเด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้อยกว่า รวมถึงเรื่องการปรับปรุงด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณด้านการศึกษา ของภาครัฐ นอกจากนี้ การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งสาคัญเนื่องจากอัตราการรอดชีวิตของผู้ใหญ่ในประเทศไทยต่ากว่าครึ่งหนึ่ง ของประเทศทั่วโลก ท้ายที่สุด การลงทุนในทุนมนุษย์จะต้องเท่าเทียมกันเพื่อเพิ่มโอกาสสาหรับประชากรทุกคนในรุ่นต่อไป การลดโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันสามารถท้าให้เกิดวงจรที่ยุติธรรมได้ เมื่อคุณภาพของเด็กลดการยึดติดกับสภาพแวดล้อมที่ กาเนิดและคุณลักษณะของพ่อแม่ การยกระดับด้านการศึกษาจะมีมากขึ้น และจะทาให้กับดักความไม่เท่าเทียมถูกทาลายลง และทาให้การเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับการกระตุ้น การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเหล่านี้ส่งเสริมกระบวนการเติบโตที่เท่าเทียมกัน มากขึ้น และช่วยให้ เกิดการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นด้วย วงจรที่ยุติธรรมนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งจากการส่งเสริม ความเอื้อ อาทรและสมานฉันท์ทางสังคมเนื่องจากผู้คนไม่รู้สึกว่าถูกกีดกันออกจากการพัฒนาประเทศอีกต่อไป ทาให้เกิดความรู้สึกว่า ได้รับความเป็นธรรม และมองโลกในแง่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศที่มีการยกระดับในด้านการศึกษาที่ดีกว่า ผู้ปกครองมี แนวโน้มที่จะมองโลกในแง่ดีและเชื่อว่าบุตรของตนจะมีโอกาสเรียนรู้และเติบโต ( Narayan et al 2018) การลดความเหลื่อม ล้านั้นเชื่อมโยงกับการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในบางประเทศ แม้ว่าจะไม่พบความสัมพันธ์ในระดับโลก (Ferreira et al. 2013; World Bank 2006, 2016c) เมื่อสังคมมีความเหลื่อมล้ามากขึ้น ดังนั้น จึงจาเป็นต้องลดความยากจนจึงจะทาให้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นได้ (World Bank 2016c) 4 CONTACT US World Bank Thailand Tel: +662 686-8300 30th Floor, 989 Siam Piwat Tower Email: thailand@worldbank.org 989 Rama I Road, Pathumwan www.worldbank.org/thailand Bangkok 10330 facebook.com/worldbankthailand