รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย  ารฟนตัวทางเศรษฐกิจ เสนทางสูก กรกฎาคม 2564 บทสรุปผู้บริหาร การพัฒนาในระยะที่ผ่านมา การระบาดหลายระลอกของโควิด-19 ก่อกวนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564 แต่ผลกระทบ ดังกล่าวก็บรรเทาลงด้วยอุปสงค์โลกที่กำลังฟื้นตัวและมาตรการช่วยเหลือทางการคลัง อย่างมากมาย ภายหลังจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ซึง ่ เริ่มขึ้นในช่วงปลายปีพ.ศ. 2563 รัฐบาลได้ปรับมาตรการ ด้านสาธารณสุขและการเว้น ระยะห่างทางสั งคมให้ เข้ มข้ นขึ้ นเพื่ อควบคุม การ แพร่ ร ะบาดของเชื้ อ ไวรั ส ผลกระทบจากการระบาดระลอกที่ 2 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงกว่าร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ. 2564 ต่อจากเศรษฐกิจที่หดตัวอยู่แล้วกว่าร้อยละ 6.1 ในปีพ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นระดับการหดตัวทางเศรษฐกิจที่ สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียน ในไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ. 2564 การลงทุนภาคเอกชนและ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับใกล้กับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 แต่ภาคบริการและ ภาคการเกษตรยังคงอ่อนแอ การแพร่ระบาดในระลอกที่ 3 ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 นั้นมีความ รุนแรง โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ,000 รายต่อวัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 มาตรการเพื่อควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นทำให้การเดินทางลดลงและส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคธุรกิจ กิจกรรมในภาคการท่องเที่ยวยังคงต่ำมากจนแทบไม่ต้องนำมาพิจารณา และแนวโน้มในอนาคต ก็ยังถูกปกคลุมไปด้วยผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทั้วทั้งภูมิภาค รวมทั้งการเกิดไวรัสโควิดสายพันธุ์ ใหม่และความล่าช้าในการฉีดวัคซีน ให้ประชาชน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคการส่งออกสินค้า ซึ่ง ขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกต่อชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และผลผลิต ทางการเกษตร ได้ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยอย่างมาก มาตรการให้เงินเยียวยา มาตรการด้านสาธารณสุข และ โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงมาตรการสนับสนุนด้านการคลังอื่นๆ มีส่วนช่วยประคับประคองอุปสงค์ ภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยกระตุ้นการบริโภคในครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และช่วยลดผลกระทบจาก วิกฤตโควิด-19ที่มต ีอ่ ปัญหาความยากจน ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส ที่ 1 ของปีพ.ศ. 2564 เนื่องจากรายรับจากภาคการท่องเที่ยวที่ต่ำมากและการเกินดุลการค้าที่ลดลง การ ส่งออกสินค้ายังคงเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวในกลุ่มประเทศคู่ค้าหลักของไทย ในขณะที่การ นำเข้าสิน ค้ามีแนวโน้มขยายตัว จากปัจจัยราคาสินค้า โภคภัณ ฑ์ ในตลาดโลกที่ ส ูง ขึ้น และความต้องการ ภายในประเทศต่อการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบขั้นกลางและสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเร็ว ้ และการลงทุนภาคเอกชนก็เพิ่มขึ้น การผสมผสานระหว่างการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทีส ขึน ่ ูงขึ้นกับการไหลออก สุทธิของบัญชีทุนและบัญชี การเงินตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2563 มีผลทำให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง ทั้งอัตรา 1 แลกเปลี่ยน ณ ราคาปัจจุบัน และอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงมี เพียงพอ โดยมีมูลค่าเทียบเท่ากับมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ 14 เดือน คิดเป็นสี่เท่าของ ระดับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ธนาคารแห่ง ประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในเดือนเมษายน 2564 เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (เทียบกับปีก่อนหน้า) เนื่องจากปัจจัยด้านอุปทาน เช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น และการสิ้นสุดมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคใน ประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงิน เฟ้อทั่วไปก็คาดว่าจะเป็นปรากฎการณ์ชั่วคราวอันเนื่องมาจากภาวะการขาดแคลนผลผลิต (คาดการณ์ว่าน่าจะ อยู่ประมาณร้อยละ 9 ของปริมาณผลผลิต) ประกอบกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทีย ่ ังทรงตัว แม้ในขณะที่จะมีกลุ่มเปราะบางอยู่ แต่โดยรวมแล้วระบบการเงินของไทยยังมั่นคง และธนาคารแห่ง ประเทศไทยได้ช่วยเสริมสภาพคล่องและสร้า งความมั่นใจว่า ภาคการเงิน จะยัง มีสเถียรภาพ ธนาคาร พาณิชย์ยังคงมีเงินทุนและสภาพคล่องสูงเป็นกันชน และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด (เช่น BIS ratio) ของระบบธนาคารไทยก็ยังอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น และความอ่อนแอของบริษัทและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ก็ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้หลายบริษัทและครัวเรือนประสบปัญหา ขาดสภาพคล่องอย่างกระทันหัน และทำลายความสามารถในการชำระหนี้ หนี้ของบริษัทและครัวเรือนอยู่ใน ระดับสูงอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดก็ถูกดันให้สูงขึ้นไปอีก ซ้ำยังกัดกร่อนผลกำไรที่สะสมมาในช่วง ก่อนหน้า และเพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน รายได้ของแรงงานที่ลดลงทำให้หนี้ครัวเรือนโดยรวม ของไทยสูงขึ้นจากร้อยละ 79.9 ของ GDP ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เป็นร้อยละ 89.1 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ซึ่งสูงที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ธนาคารพาณิชย์จึงต้องปรับเพิ่มความเข้มงวด ของเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อสำหรับทั้งครัวเรือนและ SMEs ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของการฟื้นตัว ในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและก่อ สร้าง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อยกระดับเสถียรภาพ ทางการเงินและให้ความมั่นใจว่าสภาพคล่องจะมีเพียงพอสำหรับธนาคารและบริษัทนอกภาคการเงิน เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ขยายกรอบผู้ขอสินเชื่อที่สามารถเข้าร่วมโครงการ ผ่อนปรนเงื่อนไขสัญญากู้เงิน และขยายการประกันเงินกูเ ้ พื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ SMEs มากยิ่งขึ้น สถานะทางการคลังของรัฐบาลมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.5 ของ GDP ในช่วงครึ่งแรกของ ปีงบประมาณพ.ศ. 2564 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงประกอบกับการใช้จ่ายงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้น 2 ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการขาดดุลการคลังต่อ GDP ในช่วงครึ่งปีแรกของ ปีงบประมาณพ.ศ. 2564 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีงบประมาณพ.ศ. 2563 และสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ ในภูมิภาคนี้ รายได้ของรัฐบาลลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ของ GDP ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณพ.ศ. 2564 เนื่องจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขยายเวลาชำระภาษีเงินได้ และการให้หักค่า ลดหย่อน ภาษีเพิ่มเติม มาตรการการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดสูงถึงกว่าร้อยละ 2.5 ของ GDP ใน ปีงบประมาณพ.ศ. 2563 และ ร้อยละ 1.9 ของ GDP ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณพ.ศ. 2564 หากนำมา รวมกับการเร่งรัดการใช้จ่ายในโครงการลงทุนแล้วก็จะทำให้รายจ่ายของรัฐบาลโดยรวมอยู่ในระดับที่ค่อนข้าง สูงมาก ทั้งนี้ รัฐ บาลชดเชยการขาดดุล การคลัง โดยการกู้ยืมเงิน ภายในประเทศ และส่งผลให้ระดับหนี้ สาธารณะสูงขึ้นไปแตะร้อยละ 54.3 ของ GDP ในเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 แต่ก็ยังต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้ที่ร้อยละ 60 ของ GDP รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย 1 ล้านล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือครัวเรือนกลุ่ม เปราะบางที่สุด และส่วนใหญ่ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว ในเดือนเมษายน 2563 รัฐบาลอนุมัติพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท (ประมาณร้อยละ 6 ของ GDP) เพื่อใช้ในมาตรการเยียวยา ให้บริการด้านการแพทย์ และทำ โครงการเพื่อฟื้นฟู ทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นงบประมาณก้อนสำคัญของการมาตรการด้านการคลังเพื่อ ต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 โดยเมื่อมาถึงเดือนพฤษภาคม 2564 งบประมาณที่ตั้งไว้ เกือบทั้งหมดก็ได้มี การจัดสรรไปตามนโยบายที่กำหนดไว้เกือบทั้งหมด และกว่าสองในสามของงบที่ตั้งไว้ก็ ได้เบิกจ่ายเรียบร้อย แล้ว โดยส่วนที่เหลืออยู่คาดว่าน่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งหมดก่อนสิ้นเดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 70 ของการใช้จ่ายเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโควิด -19 ได้ถูกจัดสรรไปเพื่อช่วยเหลือครัวเรือนผ่านการให้เป็นเงิน สดและเป็นเงินอุดหนุน โดยมี การจัดสรรไปช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจเอกชนไม่มากนัก การ จัดสรรงบประมาณนี้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการระบาดของโควิด -19 รอบที่สองและรอบที่สาม ซึ่ง แพร่กระจายออกไปทำให้เกิด ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง และความต้องการที่จะช่วยบรรเทา ผลกระทบที่มีกับครัวเรือนก็มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงแรก ในเดือนพฤษภาคม 2564 รัฐบาลประกาศอนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงิน เพิ่มเติมอีก 5 แสนล้านบาท เพื่อจะใช้ในการช่วยเหลือครัวเรือนและคาดว่าจะกระตุ้น GDP ให้ ่ าดไว้เดิม เพิ่มขึ้นได้อีกประมาณร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับกรณีฐานทีค แบบจำลองชี้ว่ามาตรการช่วยเหลือ ทางสังคมได้ช่วยป้องกันความยากจนที่น่าจะเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 1.2 ในช่วงปีพ.ศ. 2563 หากไม่ได้มีมาตรการของรัฐเข้ามาช่วย เศรษฐกิจที่ชะงักงันอย่างกะทันหัน อัน เนื่องมาจากโควิด-19 ได้ส่งผลลบต่อการจ้างงาน รายได้ และดัชนีความยากจน ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงได้ บรรเทาลงเนื่องจากมาตรการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุม รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีใน การช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่เปราะบางโดยขยายความช่วยเหลือทางสังคมให้มากขึ้นกว่าเดิม และได้ระดม 3 พละกำลังนำโครงการช่วยเหลือฉุกเฉินใหม่ๆ ออกมาช่วยกลุ่มแรงงานนอกระบบ เกษตรกร ซึ่ งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ ถูกมองว่าเป็นกลุ่มเปราะบางในช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาด อนาคตและความเสี่ยง คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่กลับไปอยู่ในระดับก่อนการระบาดจนถึงปีพ.ศ. 2565 และการฟื้นตัวก็ น่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ และไม่สม่ำเสมอ คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี .ศ. 2564 จะถูก ปรับลดลงจากร้อยละ 3.4 ที่คาดการไว้ในเดือนมีนาคม 2564 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นมาจากการระบาด ระลอกที่ 3 ของโควิด-19 ต่อการบริโภคภาคเอกชน และความน่าจะเป็นที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะกลับเข้ามา ในประเทศยังคงอยู่ในระดับต่ำมากจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ในปีพ.ศ. 2562 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทย ประมาณ 40 ล้านคน แต่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในปี พ.ศ. 2564 จะปรับลดลงอย่างมากจากที่ เคยคาดการณ์ไว้เดิมที่ประมาณ 4-5 ล้านคน เหลือเพียง 6 แสนคน การส่งออกสินค้าและมาตรการด้านการ คลังที่จะออกมาจะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม การฟื้นตัวน่าจะเริ่มเร่งเร็วขึ้น ในปีพ.ศ. 2565 โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าน่าจะปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 อย่างไรก็ตาม การประมาณการดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานที่สำคัญสามประการ คือ (1) ความก้าวหน้าของอัตราการฉีดวัคซีน ในประเทศ (2) ความเพียงพอของการได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกดีขึ้นจนทำให้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ (3) ความสามารถในการเบิกจ่ายงบประมาณ 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ระหว่างปีพ.ศ. 2563 - 2565 คาดว่าผลผลิตจากระบบเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในเดือนมกราคม 2563 ก่อนที่จะเกิดการ ระบาด ประมาณร้อยละ 7.7 รัฐบาลมีแผนที่จะให้ประชากรร้อยละ 70 (ประมาณ 50 ล้านคน) ได้รับวัคซีนภายในสิ้นปีพ.ศ. 2564 แต่ เกิดความล่าช้าในการแจกจ่ายวัคซีนทำให้อาจไม่เป็นไปตามตารางเวลาที่วางไว้ และจะส่งผลในทางลบต่อ การเดินทางภายในประเทศ การบริโภค และการท่องเที่ยว ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เพียงร้อยละ 1.6 ของ ประชากรได้ร ับ วั คซีน ครบถ้ว นแล้ว แต่อัตราการฉีดวัคซีน ก็ เริ่ มมีแนวโน้ม เพิ่ มสูง ขึ้นในเดือ นมิ ถุ น ายน โดยประมาณ 200,000 - 300,000 คนได้รับการฉีดวัคซีนในแต่ละวัน และคาดว่าภายในสิ้นเดือนมิถุนายน ประมาณร้อยละ 4.0 ของประชากรจะได้รับวัคซีนครบ ถ้าอัตราการฉีดวัคซีน อยู่ในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปี ตาม สมมติฐานที่คาดการณ์ ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรจะได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม ภายในสิ้นปีพ.ศ. 2564 และจะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ภายในกลางปีพ.ศ. 2565 อัตราการฉีดวัคซีนจะสอดคล้องกับกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่จะฟื้นกลับไปในระดับก่อนการระบาดในช่วงต้นปีพ.ศ. 2565 อัตราการขยายตัวของการบริโภค ภาคเอกชนจะปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในปีพ.ศ. 2564 เป็นร้อยละ 3.9 ในปีพ.ศ. 2565 และนักท่องเที่ยวที่ เข้ามาในประเทศจะสูงขึ้นจาก 1 ล้านคนในปี พ.ศ. 2564 เป็น 10.8 ล้านคนในปี พ.ศ. 2565 อย่างไรก็ตาม 4 ปัญหาการขาดแคลนอุปทานในโลกอาจส่งผลคุกคามแผนการกระจายวัคซีน รัฐบาลได้มีการสั่งซื้อวัคซีน 61 ล้านโดสจากแอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดสจากซิโนแวค แต่การที่จะให้ วัคซีนครอบคลุมประชากรร้อยละ 70 ภายในครึ่งแรกของปีพ.ศ. 2565 นั้น จะต้องมีการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมอย่างทันเวลา ซึ่งคาดว่า จะมีวัคซีนอีก 10 - 15 ล้านโดสจากซิโนแวค 5 ล้านโดสจากจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และ 20 ล้านโดสจากไฟเซอร์ ระดับหนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มสูง ขึ้นมาก แต่ความเสี่ยงต่อความยั่งยืนทางการคลัง ยังอยู่ในระดับ ที่ บริหารจัดการได้ ผลกระทบที่เกิดจากความพยายามในการบรรเทาและกระตุ้นให้เกิดฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและ สังคมจากการระบาดของโควิด-19 น่าจะทำให้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นไปที่ร้อยละ 62 ในปีพ.ศ. 2565 ซึ่งสูงกว่าเพดานหนี้สาธารณะที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ร้อยละ 60 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของหนี้สาธารณะ ่ บกรับได้ โดยแบบจำลองด้านการคลังตามสมมติฐานที่มีเหตุผลบนพื้นฐานของสถิติในอดีตของ ยังอยู่ในระดับทีแ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย และการขาดดุล การคลังเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า การขาดดุล เกินกรอบเพดานหนี้สาธารณะเป็นการชั่วคราวในระดับที่คาดการณ์นี้จะไม่ส่งผลคุกคามต่อกรอบความยั่งยืน ทางการคลังในระยะปานกลาง ยิ่งไปกว่านั้น การที่หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ ที่เป็นเงินตราภายในประเทศ และสภาพคล่องภายในประเทศมีอยู่ อย่างเพียงพอที่จะให้รัฐบาลกู้ และหนี้ที่ก่อขึ้นใหม่ก็มีอายุการไถ่ถอนที่ ค่อนข้างนาน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงต่อฐานะการคลัง ความเสี่ยงที่จะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มไปในด้านลบ และสภาวะโดยรวมก็ยังอยู่บน ฐานที่มีความไม่แน่นอนสูง วิถีการระบาดทั่วโลกยัง คงคาดเดาได้ยาก และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด -19 ใน ประเทศจะสะท้อนความก้าวหน้าในการกระจายวัคซีน ความสำเร็จในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม และความมี ประสิทธิภาพของวัคซีนกับสายพันธุ์ใหม่ๆของเชื้อไวรัสโคโรนา ในขณะเดียวกัน ความไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ สมบูรณ์ในการดำเนินการตามแผนด้านการคลังจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช้าลง และส่งผลลบเป็นอย่าง มากต่อกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ห่วงโซ่อุปทานที่ถูกรบกวนและปัญหาคอขวดในระบบโลจิ สติกส์จะเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้บริษัทไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการฟื้นตัวของการค้าโลก อย่างไรก็ ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นจากภายนอกประเทศก็จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการค้าและการลงทุน ใน ระยะปานกลาง การระบาดที่ส่งผลลบต่อการสะสมทุนทางกายภาพ การเงิน และทุนมนุษย์ อาจยับยั้งการฟื้น ตัวของผลิตผลทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกั น ก็อาจทำให้ช่องว่างความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม กว้างขึ้นอีกด้วย การปฏิรูปโครงสร้างจะเป็นกุญแจสำคัญที่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ บรรเทาความเสี่ยงในทาง ลบ และทำให้ประเทศไทยกลับมาได้ประโยชน์จากโอกาสที่ดีขึ้น การปฏิรูปเพื่อลดต้นทุนและอุปสรรคการค้า จะช่วยให้ไทยได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การเปิดเสรีภาคบริการและมาตรการ 5 อื่นๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ การบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา อย่างจริงจัง และการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่อย่างเต็มที่ จะช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ และช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ อุปทานที่ซับซ้อนของสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มความเข้มแข็งให้กับ ระบบ คุ้มครองทางสังคมจะช่วยให้มีการปรับตัวได้ดีและส่งเสริมให้เกิดการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม โดยสนับสนุนให้เกิด การลงทุนในทุนมนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ภาคการผลิตที่มีผลิตภาพสูงขึ้น ปกป้องครัวเรือนที่ยากจนและเปราะบาง มาตรการช่วยเหลือทางสังคมของประเทศไทยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดถือว่ามีขอบเขตและ ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อนและโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ รัฐบาลได้ขยายมาตรการให้เงินเยียวยา จากโครงการที่ค่อนข้างเล็กไปเป็นหนึ่งในโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวม รายจ่ายทั้งหมดจากมาตรการให้เงินเยียวยาประชาชนในปีพ.ศ. 2563 อยู่ที่ประมาณ 3.88 แสนล้านบาท หรือ ประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP และดึงให้ยอดรวมของการให้ความช่วยเหลือทางสังคมขึ้นไปแตะระดับร้อยละ 3.2 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 0.8 ของ GDP ในปีพ.ศ 2562 แบบจำลองเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า ประชากรกว่า 780,000 คน จะกลายเป็นคนยากจนในปี พ.ศ. 2563 หากรัฐบาลไม่ได้ให้ความช่วยเหลือทาง สังคม (ภายใต้สมมติฐานที่ว่าเงื่อนไขในการเข้าถึงความช่วยเหลือของแต่ละมาตรการนั้นทำหน้าที่ได้อย่าง สมบูรณ์เต็มที่) ระบบคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยน่าจะสามารถปรับปรุงให้มีความพร้อมที่จะรับสถานการณ์ระบาด ได้ดีมากขึ้นกว่านี้ โดยความสำเร็จนี้ต่อยอดมาจากระบบเลขบัตรประชาชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ชั้นเลิศ ประกอบกับระบบจ่ายเงินและบริหารงานที่สามารถขยายขนาดของมาตรการให้เงินเยียวยาโดยตรงได้อย่าง รวดเร็ว วิกฤตการณ์ในปีพ.ศ. 2563 แสดงให้เห็นความสามารถของประเทศไทยในการบูรณาการข้อมูลที่มีอยู่ อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ออนไลน์แอปพลิเคชัน เพื่อสร้างระบบการลงทะเบียนทางสังคมอย่างทันท่วงที แท้จริงแล้ว ประเทศไทยประสบความสำเร็จมาจากการต่อยอดระบบเลขประจำตัวประชาชนที่เข้มแข็งและถ้วน ทุกคน ระบบดิจิทัลที่ซับซ้อนให้มาทำงานร่วมกันได้ และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารงานภาครัฐ หลายด้านใน การคัดกรองผู้มีสิทธิ์ ที่จะเข้าร่วมโครงการ จากการที่รัฐมีพื้นฐานที่พร้อมอยู่แล้ว ประเทศไทยน่าจะสามารถ รวบรวมส่วนต่างๆ ที่มีอยู่มาใช้เผชิญหน้ากับวิกฤติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการเตรียมความพร้อมผ่านระบบ เสมือนจริง หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อสังคมแห่งรัฐ เพื่อติดตามสถานะของครัวเรือนทั้งในช่วงสถานการณ์ปกติ และช่วงวิกฤต 6 ในอนาคต รัฐบาลควรจะต้องลงทุนสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบความคุ้มครองทางสังคม ผลประโยชน์ที่ ได้จากความช่วยเหลือทางสังคมก่อนที่จะเกิดการระบาดนั้นยังไม่ค่อยเอื้อเฟื้อและมักจะไม่เพียงพอที่จะปกป้อง คนจน โครงการให้ความช่วยเหลือด้านสังคมที่ใหญ่ที่สุดมีการจัดแบ่งกลุ่ม แต่เมื่อเร็วๆ นี้เองที่ได้มีการกำหนด เป้าหมายอย่างชัดเจนไปที่คนยากจน และในอนาคตควรจะมีการจัดลำดับความสำคัญ โดยให้มั่นใจว่ากลุ่ม เปราะบางที่จะได้รับประโยชน์ นั้นได้รับการช่วยเหลืออย่างเพียงพอ ทั้งนี้ หากพิจารณาจากฐานะการคลังที่มี อยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นที่ รัฐจะต้องมีการลงทุน เพื่อให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิกฤตครั้งนี้ ยังได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมภาค เศรษฐกิจนอกระบบตลอดเวลาไม่ใช่เฉพาะแต่ในช่วงที่มีวิกฤตการณ์เท่านั้น 7 การพัฒนาในระยะที่ผ่านมา และแนวโน้มอนาคตในระยะสั้น รูปที่ ES 1: อัตราการขยายตัว GDP ของไทยยังคงติดลบในไตรมาสที่ 1 ปี รูปที่ ES 2: … การส่งออกขยายตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พ.ศ. 2564 แต่ดัชนีที่สำคัญเริ่มส่งสัญญาณว่ามีการปรับตัวดีขึ้น... โลกที่เร่งแรงขึ้น (% เปลี่ยนแปลงเทียบกับปีก่อนหน้า) ่ รับผลกระทบตามฤดูกาล) (%เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า,ทีป 6.0 10.0 8.0 7.0 4.0 5.0 2.0 0.0 0.0 -2.0 -1.3 -5.0 -2.1 -4.0 -2.6 -5.5 -4.2 -10.0 -6.0 -8.0 -6.4 -15.0 -10.0 -20.0 -12.0 -21.5 -12.1 -25.0 -14.0 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 2018 2019 2020 2021 2018 2019 2020 2021 ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) ที่มา: สศช. รูปที่ ES 3: อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวรายไตรมาสยังคง รูปที่ ES 4: ...และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นขึ้น ก็บั่น ชะงักงันในช่วงต้นปีพ.ศ. 2564 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวน ทอนกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้งในไตรมาสที่สองของปีพ.ศ. 2564 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่... (%เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า,ที่ปรับผลกระทบตามฤดูกาล) (เปลี่ยนแปลงการเข้าใช้บริการเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผู้ใช้บริการรายปีที่ใช้ เป็นปีฐาน) 8.0 6.3 40 6.0 30 4.0 20 2.0 1.1 0.2 10 0.0 0 -2.0 -10 -1.5 -20 -4.0 -30 -6.0 -40 -8.0 -50 -10.0 -60 -9.5 Sep-2020 Jan-2021 Apr-2021 Mar-2020 Apr-2020 Jun-2020 Aug-2020 Dec-2020 Jun-2021 May-2020 Jul-2020 Mar-2021 May-2021 Feb-2020 Feb-2021 Nov-2020 Oct-2020 -12.0 -14.0 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 2018 2019 2020 2021 Retail & Recreation Grocery & Pharmacy ที่มา: สศช. ที่มา: รายงาน Google Community Report 8 รูปที่ ES 5: รัฐดำเนินมาตรการฟื้นฟูเพื่อรับมือการระบาด ทำให้ขาด รูปที่ ES 6: คาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆและผลผลิตจะ ดุลการคลังเพิ่มสูงขึ้น กลับไประดับก่อนเกิดการระบาดในปีพ.ศ. 2565 (สัดส่วนต่อ GDP) (ดัชนี, 2017 GDP = 100) Pre-COVID-19 Trend Historical 0.0 TEM (January 2021) EAP Update (April 2021) TEM (July 2021)-Baseline TEM (July 2021)-Downside -2.0 120 -1.8 -1.6 -2.1 -4.0 115 -4.1 -6.0 110 -5.6 -8.0 -7.4 105 -10.0 100 -10.5 -12.0 95 FY17 FY18 FY19 FY20 H1 FY20 H2 FY20 H1 FY21 2017 2018 2019 2020 2021 2022 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ่ นาคารโลก ที่มา: สศช; การคำนวณของเจ้าหน้าทีธ ตาราง ES 1: ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค 2561 2562 2563 2564f 2565f อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทีแ ่ ท้จริง 4.2 2.3 -6.1 2.2 5.1 (ณ ราคาคงที่) การบริโภคภาคเอกชน 4.6 4.0 -1.0 2.4 3.9 การบริโภคภาครัฐ 2.6 1.7 0.9 5.0 -0.7 การสะสมทุนเบื้องต้น 3.8 2.0 -4.8 6.7 7.9 การส่งออกสินค้าและบริการ 3.4 -3.0 -19.4 7.3 11.9 การนำเข้าสินค้า และบริการ 8.3 -5.2 -13.3 10.3 9.8 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทีแ ่ ท้จริง (ณ ราคาปัจจัยการผลิตคงที่) ภาคเกษตรกรรม 5.8 -0.6 -3.4 1.4 1.3 ภาคอุตสาหกรรม 2.9 0.1 -5.3 8.8 4.8 ภาคบริการ 5.1 4.5 -6.9 -1.4 5.6 เงินเฟ้อ (ดัชนีราคาผู้บริโภค) 1.07 0.71 -0.85 1.0 1.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด (สัดส่วนต่อ GDP) 5.6 7.0 3.2 1.1 4.9 ดุลการคลัง (สัดส่วนต่อ GDP) -1.6 -2.1 -5.6 -9.6 -5.0 หนี้สาธารณะ (สัดส่วนต่อ GDP) 42.0 41.0 49.4 59.3 62.1 ่ นาคารโลก ที่มา: สศช; การคำนวณของเจ้าหน้าทีธ 9 กลุมธนาคารโลก อาคารสยามพิวรรธน 989 ถนน พระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 E-mail. thailand@worldbank.org | Tel. 02-686-8300 www.worldbank.org/thailand | http://www.facebook.com/worldbankthailand